มติคณะรัฐมนตรี เรื่อง มาตรการการเงินการคลังเพื่อสนับสนุนการลงทุนในประเทศ ปี 2563 (วันที่ 28 มกราคม 2563)
28 มกราคม 2563มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 28 มกราคม 2563
เรื่อง มาตรการการเงินการคลังเพื่อสนับสนุนการลงทุนในประเทศ ปี 2563
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบมาตรการการเงินการคลังเพื่อสนับสนุนการลงทุนในประเทศ ปี 2563 พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานตามที่ระบุ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
2. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... จำนวน 1 ฉบับ
3. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..) จำนวน 1 ฉบับ
4. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2562 ไปพลางก่อน และปีต่อ ๆ ไป จำนวน 350.67 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับมาตรการสินเชื่อเพื่อการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (มาตรการสินเชื่อฯ) ตามมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ
สำหรับภาระงบประมาณในการดำเนินการตามมาตรการสินเชื่อเพื่อการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) สนับสนุนสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยเงินกู้พิเศษและเงื่อนไขผ่อนปรน และรัฐบาลชดเชยส่วนต่างดอกเบี้ยให้แก่ ธสน. ภายในกรอบวงเงิน 350.67 ล้านบาท นั้น เห็นสมควรให้ ธสน. จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามผลการดำเนินงานจริงต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
สาระสำคัญ
เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจไทยตลอดปี 2562 เผชิญกับความไม่แน่นอนจากภายนอกประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจประสบสภาวะชะลอตัวและอาจส่งผลกระทบการลงทุนในปี 2563 กระทรวงการคลังจึงเห็นสมควรเสนอมาตรการการเงินการคลังเพื่อสนับสนุนการลงทุนในประเทศ ปี 2563 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศ
1) วัตถุประสงค์ : ช่วยส่งเสริมและกระตุ้นให้การลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นในปี 2563
2) กลุ่มเป้าหมาย : บริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
3) ระยะเวลาดำเนินงาน : สำหรับรายจ่ายที่จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563
4) วิธีดำเนินงาน : ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักรายจ่ายเพื่อการลงทุนในเครื่องจักรได้ร้อยละ 250 หรือ 2.5 เท่า ของรายจ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่รวมถึงกรณีที่เป็นธุรกิจให้เช่าแบบลีสซิ่งและลงทุนในเครื่องจักรเพื่อให้เช่าเครื่องจักรนั้นแบบลีสซิ่ง โดยให้หักรายจ่ายร้อยละ 100 แรก หรือ 1 เท่าแรกของรายจ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริง เป็นค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามเกณฑ์ที่ประมวลรัษฎากรกำหนด และทยอยหักรายจ่ายส่วนเพิ่มเป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชี ทั้งนี้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
ทั้งนี้ การใช้สิทธิประโยชน์สามารถดำเนินการได้โดยการตราพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... จำนวน 1 ฉบับ
5) สูญเสียรายได้ : คาดว่าจะสูญเสียรายได้ภาษีเงินได้นิติบุคคลประมาณ 6,600 ล้านบาทต่อปี เป็นระยะเวลา 5 ปี
อนึ่ง ในส่วนของการหักค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนในอาคาร กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างพิจารณาความเหมาะสมในการให้สิทธิประโยชน์ตามมาตรการนี้
2. มาตรการยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
1) วัตถุประสงค์ : เพื่อกระตุ้นการลงทุนในประเทศและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการ
2) กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ประกอบการ
3) ระยะเวลาดำเนินงาน : การนำเข้าเครื่องจักรตั้งแต่วันที่ประกาศกระทรวงการคลังมีผลบังคับใช้ – 31 ธันวาคม 2563
4) วิธีดำเนินงาน : ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร 146 ประเภทย่อย โดยการออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..) จำนวน 1 ฉบับ
5) สูญเสียรายได้ : คาดว่าจะสูญเสียรายได้อากรขาเข้าประมาณ 2,000 ล้านบาท
3. มาตรการสินเชื่อเพื่อการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (มาตรการสินเชื่อฯ)
1) วัตถุประสงค์ : เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการไทยในการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ในอัตราดอกเบี้ยที่ผ่อนปรน โดยเฉพาะผู้ประกอบการส่งออกและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง (Supply Chain) รวมถึงผู้ประกอบการที่มีการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อการพัฒนาประเทศ เพื่อยกระดับกระบวนการผลิตและเพิ่มศักยภาพของภาคอุตสาหกรรมไทยไปสู่ Industry 4.0 และมีการเติบโตอย่างยั่งยืน
2) กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ประกอบการส่งออกและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง และผู้นำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อพัฒนาประเทศ
3) ระยะเวลาดำเนินงาน : ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ หรือตามที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) กำหนด และกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อเมื่อ ธสน. ให้สินเชื่อเต็มกรอบวงเงินของมาตรการ ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2563
4) สิทธิประโยชน์ : อัตราดอกเบี้ย (ต่อปี)
- ปีที่ 1-2 : ร้อยละ 2
- ปีที่ 3-5 : Prime Rate – ร้อยละ 2
- ปีที่ 6-7 : Prime Rate
ณ วันที่ 22 มกราคม 2563 Prime Rate = ร้อยละ 6
5) งบประมาณ : รัฐบาลชดเชยส่วนต่างดอกเบี้ยให้แก่ ธสน. เป็นจำนวนทั้งสิ้น 350.67 ล้านบาท ทั้งนี้ ให้ ธสน. ทำความตกลงในการเบิกจ่ายงบประมาณกับสำนักงบประมาณต่อไป
More Informations
Doc20200128.pdf
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบมาตรการการเงินการคลังเพื่อสนับสนุนการลงทุนในประเทศ ปี 2563 พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานตามที่ระบุ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
2. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... จำนวน 1 ฉบับ
3. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..) จำนวน 1 ฉบับ
4. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2562 ไปพลางก่อน และปีต่อ ๆ ไป จำนวน 350.67 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับมาตรการสินเชื่อเพื่อการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (มาตรการสินเชื่อฯ) ตามมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ
สำหรับภาระงบประมาณในการดำเนินการตามมาตรการสินเชื่อเพื่อการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) สนับสนุนสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยเงินกู้พิเศษและเงื่อนไขผ่อนปรน และรัฐบาลชดเชยส่วนต่างดอกเบี้ยให้แก่ ธสน. ภายในกรอบวงเงิน 350.67 ล้านบาท นั้น เห็นสมควรให้ ธสน. จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามผลการดำเนินงานจริงต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
สาระสำคัญ
เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจไทยตลอดปี 2562 เผชิญกับความไม่แน่นอนจากภายนอกประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจประสบสภาวะชะลอตัวและอาจส่งผลกระทบการลงทุนในปี 2563 กระทรวงการคลังจึงเห็นสมควรเสนอมาตรการการเงินการคลังเพื่อสนับสนุนการลงทุนในประเทศ ปี 2563 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศ
1) วัตถุประสงค์ : ช่วยส่งเสริมและกระตุ้นให้การลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นในปี 2563
2) กลุ่มเป้าหมาย : บริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
3) ระยะเวลาดำเนินงาน : สำหรับรายจ่ายที่จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563
4) วิธีดำเนินงาน : ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักรายจ่ายเพื่อการลงทุนในเครื่องจักรได้ร้อยละ 250 หรือ 2.5 เท่า ของรายจ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่รวมถึงกรณีที่เป็นธุรกิจให้เช่าแบบลีสซิ่งและลงทุนในเครื่องจักรเพื่อให้เช่าเครื่องจักรนั้นแบบลีสซิ่ง โดยให้หักรายจ่ายร้อยละ 100 แรก หรือ 1 เท่าแรกของรายจ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริง เป็นค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามเกณฑ์ที่ประมวลรัษฎากรกำหนด และทยอยหักรายจ่ายส่วนเพิ่มเป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชี ทั้งนี้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
ทั้งนี้ การใช้สิทธิประโยชน์สามารถดำเนินการได้โดยการตราพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... จำนวน 1 ฉบับ
5) สูญเสียรายได้ : คาดว่าจะสูญเสียรายได้ภาษีเงินได้นิติบุคคลประมาณ 6,600 ล้านบาทต่อปี เป็นระยะเวลา 5 ปี
อนึ่ง ในส่วนของการหักค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนในอาคาร กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างพิจารณาความเหมาะสมในการให้สิทธิประโยชน์ตามมาตรการนี้
2. มาตรการยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
1) วัตถุประสงค์ : เพื่อกระตุ้นการลงทุนในประเทศและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการ
2) กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ประกอบการ
3) ระยะเวลาดำเนินงาน : การนำเข้าเครื่องจักรตั้งแต่วันที่ประกาศกระทรวงการคลังมีผลบังคับใช้ – 31 ธันวาคม 2563
4) วิธีดำเนินงาน : ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร 146 ประเภทย่อย โดยการออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..) จำนวน 1 ฉบับ
5) สูญเสียรายได้ : คาดว่าจะสูญเสียรายได้อากรขาเข้าประมาณ 2,000 ล้านบาท
3. มาตรการสินเชื่อเพื่อการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (มาตรการสินเชื่อฯ)
1) วัตถุประสงค์ : เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการไทยในการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ในอัตราดอกเบี้ยที่ผ่อนปรน โดยเฉพาะผู้ประกอบการส่งออกและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง (Supply Chain) รวมถึงผู้ประกอบการที่มีการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อการพัฒนาประเทศ เพื่อยกระดับกระบวนการผลิตและเพิ่มศักยภาพของภาคอุตสาหกรรมไทยไปสู่ Industry 4.0 และมีการเติบโตอย่างยั่งยืน
2) กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ประกอบการส่งออกและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง และผู้นำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อพัฒนาประเทศ
3) ระยะเวลาดำเนินงาน : ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ หรือตามที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) กำหนด และกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อเมื่อ ธสน. ให้สินเชื่อเต็มกรอบวงเงินของมาตรการ ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2563
4) สิทธิประโยชน์ : อัตราดอกเบี้ย (ต่อปี)
- ปีที่ 1-2 : ร้อยละ 2
- ปีที่ 3-5 : Prime Rate – ร้อยละ 2
- ปีที่ 6-7 : Prime Rate
ณ วันที่ 22 มกราคม 2563 Prime Rate = ร้อยละ 6
5) งบประมาณ : รัฐบาลชดเชยส่วนต่างดอกเบี้ยให้แก่ ธสน. เป็นจำนวนทั้งสิ้น 350.67 ล้านบาท ทั้งนี้ ให้ ธสน. ทำความตกลงในการเบิกจ่ายงบประมาณกับสำนักงบประมาณต่อไป
More Informations
Doc20200128.pdf