นายสถาปนา พรหมบุญ ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 1 ร่วมงานฉลองครบรอบ 50 ปี วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน
02 กรกฎาคม 2568
วันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เวลา 18.00 น. นายสถาปนา พรหมบุญ ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 1 เข้าร่วมงานเลี้ยงรับรองเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ โรงแรมแชงกรี-ลา จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดยสถานกงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำเชียงใหม่
ภายในงานมีการมอบรางวัลแก่เยาวชนที่ชนะการประกวดภาพวาดในหัวข้อ “สร้างสรรค์จินตนาการ สานสัมพันธ์ ไทย-จีน” เพื่อเฉลิมฉลองโอกาสสำคัญนี้ พร้อมทั้งมีการจัดแสดงศิลปวัฒนธรรมจากทั้งสองประเทศอย่างหลากหลาย อาทิ การบรรเลงดนตรีจากกู่เจิงและขลุ่ย การแสดงนาฎศิลป์ไทย-จีน และการขับร้องประสานเสียงเพลงร่วมกัน
ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนมีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นมายาวนาน โดยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือที่มั่นคงในด้านต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมระหว่างสองประเทศจนครบรอบ 50 ปีในปีนี้
จังหวัดเชียงใหม่ได้มีการสถาปนาความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้องกับเมืองต่างๆของจีนแล้ว 9 เมืองได้แก่ เซี่ยงไฮ้ ชิงต่าว ฉงชิ่ง สิบสองปันนา เฉิงตู เหมยซาน ไห่หนาน ซ่าวหยาง และกว่างโจว โดยความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดทั้งในด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การศึกษา การท่องเที่ยว และการแลกเปลี่ยนด้านนวัตกรรม










ภายในงานมีการมอบรางวัลแก่เยาวชนที่ชนะการประกวดภาพวาดในหัวข้อ “สร้างสรรค์จินตนาการ สานสัมพันธ์ ไทย-จีน” เพื่อเฉลิมฉลองโอกาสสำคัญนี้ พร้อมทั้งมีการจัดแสดงศิลปวัฒนธรรมจากทั้งสองประเทศอย่างหลากหลาย อาทิ การบรรเลงดนตรีจากกู่เจิงและขลุ่ย การแสดงนาฎศิลป์ไทย-จีน และการขับร้องประสานเสียงเพลงร่วมกัน
ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนมีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นมายาวนาน โดยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือที่มั่นคงในด้านต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมระหว่างสองประเทศจนครบรอบ 50 ปีในปีนี้
จังหวัดเชียงใหม่ได้มีการสถาปนาความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้องกับเมืองต่างๆของจีนแล้ว 9 เมืองได้แก่ เซี่ยงไฮ้ ชิงต่าว ฉงชิ่ง สิบสองปันนา เฉิงตู เหมยซาน ไห่หนาน ซ่าวหยาง และกว่างโจว โดยความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดทั้งในด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การศึกษา การท่องเที่ยว และการแลกเปลี่ยนด้านนวัตกรรม









